Meta Tags คืออะไร มีอันไหนบ้างที่จำเป็นต่อการทำ SEO

Meta Tags คืออะไร มีอันไหนบ้างที่จำเป็นต่อการทำ SEO

หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างแล้วเกี่ยวกับ Meta Tags และความสำคัญในการใช้ทำ SEO ซึ่งบทความนี้ Pacy Media จะมาแชร์กันว่า Meta Tags มีอะไรบ้าง แต่ละอันมีหน้าที่อะไร แล้วมี Meta Tags อะไรบ้างที่จำเป็นจริงๆ ในการทำ SEOMeta Tag คืออะไร ใช้ทำ SEO ยังไง เรียกว่าไม่มีไม่ได้เลย

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นเกี่ยวกับ Meta Tags กันก่อน

Meta Tags คืออะไร

Meta Tags คือ โค้ด HTML ที่มีหน้าที่ในการบอก Search Engines ไม่ว่าจะเป็น Google, Bing หรืออื่นๆ ว่าเนื้อหาหรือคอนเทนต์บนเว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ซึ่ง Meta Tags จะไม่ได้ปรากฎให้เห็นบนเว็บไซต์ จะเห็นได้แค่ในหน้า Source Code ที่ส่วน <head> ซึ่ง Search Engines และ Web Crawlers จะดูข้อมูลจาก Meta Tag ว่าเว็ปไซต์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร แล้วจากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้น มาแสดงบนผลการค้นหา (Search Engine Result Page) เมื่อมีการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องไล่ตามลำดับความสำคัญนั้น

นอกเหนือจากนี้ยังมี <img> Tag ที่จะใช้กับการใส่รูปภาพบนเว็บไซต์ด้วย โดยหากต้องการให้รูปภาพไปติดผลการค้นหาให้ลองดูเกี่ยวกับการใส่ ALT Text

การใช้ Meta Tags สำคัญต่อ SEO อย่างไร

เจ้า Meta Tag ที่ใส่ในรูปแบบ HTML มีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมาก นอกจะมีหน้าที่ในการบอก Search Engines เพื่อให้นำเว็บไซต์ไปจัดอันดับแล้ว ยังมีหน้าที่ในการบอกผู้ค้นหาด้วยว่าเว็ปไซต์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และจากประสบการณ์ในการรับทำ SEO ของเราที่ผ่านมา Meta Tag ที่ดี โดยเฉพาะ Meta Title และ Meta Description จะสามารถเพิ่มการอัตราการคลิก (CTR) เข้ามายังเว็บไซต์ได้อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อ Ranking เช่นกัน

ตัวอย่าง Meta Tags

จริงๆ แล้ว Meta Tag มีเยอะมาก แต่ที่ใช้งานกันหลักๆ จะมีตามนี้

Meta Tagsคำอธิบาย
<title>เป็นโค้ดที่บอกหัวข้อของหน้านั้นๆ โดยจะขึ้นเป็น Headline บนหน้า Search Engine ด้วย มักจะปิดท้ายด้วยชื่อเว็บไซต์หรือบริษัท เช่น “บทความ Meta Tag คืออะไร – Pacy Media” ซึ่งความยาวของ Meta Title ไม่ควรเกิน 60 ตัวอักษร
<meta name="description" content="...">อธิบายเนื้อหาคร่าวๆ ของหน้านั้น โดยเนื้อหาในส่วนของ Description จะไปขึ้นด้านล่าง Headline บนหน้า Search Engine โดยไม่ควรยาวเกิน 160 ตัวอักษร
<meta name="keywords" content="...">สำหรับใส่ Keyword หลักใหน้านั้นๆ โดยใช้คอมม่า (,) แบ่งได้ แต่ ณ ปัจจุบัน Google Algorithm ใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับ Tag นี้น้อยลงแล้ว แต่จะไปให้ความสำคัญของเนื้อหาแทน
<meta name="robots" content="...">ในส่วนนี้จะเป็นตัวบอก Robots ของ Google หรือ Search Engine อื่นๆ ว่าให้เข้ามาเอาข้อมูลของหน้านั้นๆ ไปทำการ Index ได้หรือเปล่า โดยถ้าใส่เป็น noindex พวก Bots ก็จะไม่เข้ามาเก็บข้อมูลในหน้านั้น
<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1">ช่วยในด้านการแสดงผลบนอุปกรณ์ต่างๆ ในขนากหน้าจอที่แตกต่างกัน
<link rel="canonical" href="...">ใช้เมื่อเนื้อหามีความทับซ้อนหรือซ้ำกัน เช่น หน้า A มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหน้า B ก็สามารถใส่ Canonical Tag เพื่อบอกว่าหน้าไหนคือหน้าหลักให้ Search Engine เข้าไปเก็บข้อมูล
<meta name="author" content="...">สำหรับบทความที่ต้องการใส่ชื่อผู้เขียน
ตารางตัวอย่าง Meta Tags และทำอธิบาย

แต่สำหรับมือใหม่ที่ต้องการใช้งาน Meta Tags สำหรับ SEO โดยเฉพาะก็ไม่จำเป็นต้องทำความรู้จักทั้งหมด เรารวม 4 ส่วนที่จำเป็นมาให้แล้ว

คำแนะนำในการใช้ 5 Meta Tags ที่จำเป็นต่อการทำ SEO

Meta Tags ที่สำคัญต่อการทำ SEO ที่สุดประกอบด้วย Meta Title, Meta Description, Meta Keyword และ Meta Robots ซึ่งหากบริษัทของคุณกำลังเขียนเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ ให้ลองสอบถาม Developer ด้วยว่าเว็บไซต์รองรับการใส่ 5 Tags นี้ของเนื้อหาแต่ละหน้าหรือไม่

โดยเราจะมาแนะนำกันว่าใน 5 ส่วนนี้ควรเขียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

1. Meta Title

ตัวอย่าง meta title และ meta description
ข้อความสีน้ำเงินมาจาก Meta Title และคำอธิบายด้านล่างคือ Meta Description

Meta Title คือ ข้อความที่จะแสดงในหน้าแสดงผลการค้นหา (Search Engine Result Page) และ แท็บข้างบนเวลาเข้าเว็บไซต์ (Headline) เพื่อให้เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ตรงกับความสนใจของผู้ค้นหาหรือไม่ ซึ่ง Meta Title มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ค้นหาจะเห็นเมื่อค้นหาสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นโอกาสของเราที่จะดึงดูดความสนใจให้คลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ โดยตัวอย่างโค้ด Meta Title ในรูปแบบ HTML เป็นแบบนี้

<title>หัวข้อเกี่ยวกับหน้านั้นๆ ที่จะขึ้น Headline บน Search Engine</title>

จากโค้ดด้านบนหากเปลี่ยนข้อความที่อยู่ระหว่าง <title>…</title> หัวข้อของหน้านั้นๆ รวมถึง Headline ที่จะไปขึ้นบน Search Engine ก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย

คำแนะนำในการเขียน Meta Title

  • เขียน Meta Title สำหรับแต่ละหน้าโดยเฉพาะ ไม่ควรซ้ำกัน
  • ไม่เขียนยาวมากจนเกินไป ความยาวของ Meta Title ไม่ควรเกิน 60 ตัวอักษร
  • ไม่ใช้คำทั่วไป เช่น หน้าแรก , Home มาเป็น Meta Title
  • ใช้คำที่ตรงกับ Search Intent ซึ่งก็คือ การใช้คำที่ตรงกับจุดประสงค์ของผู้ใช้งาน เช่น ผู้ใช้คนหาคำว่า “พัทยา” จุดประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการหาน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
  • หลีกเลี่ยง Meta title ที่เป็นคลิกเบต หรือล่อให้คนกดเข้ามา เช่น ตะลึ่ง! เหลือเชื่อ!
  • มีการใส่ Keyword ตามความเหมาะสม
  • มีการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ในประโยคเวลาใช้ภาษาอังกฤษ

2. Meta Description

Meta Description คือ ข้อความสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บไซต์ จะแสดงอยู่ข้างล่าง Meta title ในหน้าแสดงผลการค้นหา โดย Meta Description สามารถช่วยดึงดูดให้ผู้ค้นหาคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราได้ หากเขียนได้น่าสนใจ และตรงตามความสนใจของผู้ค้นหา โดยตัวอย่างโค้ด Meta Description ในรูปแบบ HTML มีดังนี้

<meta name="description" content="ใส่ Description ตรงนี้">

จากโค้ดด้านบนหากเปลี่ยนข้อความจาก “ใส่ Meta Description ตรงนี้” เป็นอย่างอื่น Meta Description ของเว็บไซต์ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

คำแนะนำในการเขียน Meta Description

  • ไม่ยาวเกินกว่า 160 ตัวอักษร
  • มีบทสรุปเฉพาะของแต่ละหน้า
  • หลีกเลี่ยงการใช้ Meta Description ซ้ำกัน
  • มีความถูกต้องและกระชับในการเขียน
  • ใช้คำอธิบายที่ตรงกับ Search Inten (จุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้)
  • มีการใส่ Keyword อย่างสมเหตุสมผล ไม่เยอะจนเกินไป
  • มีการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ในประโยคเวลาใช้ภาษาอังกฤษ

การเขียน Meta Title และ Meta Description ในเว็บไซต์ที่สร้างจาก WordPress สามารถใช้ส่วนเสริม (Plug-in) ต่างๆ ช่วยในการเขียนได้ เช่น Yoast SEO โดยจะสามารถช่วยได้ในเรื่องความยาวของข้อความ และการใส่ Keyword ลงใน Meta Title และ Meta Description

ใครที่ใช้ WordPress เราแนะนำให้ลองศึกษาเกี่ยวกับ WordPress SEO เพิ่มเติม เพื่อลองดูว่าเว็บไซต์ยังมีส่วนไหนต้องปรับเพิ่มเติมหรือไม่

3. Meta Keyword

Meta Keyword ไม่ค่อยใช้กันในปัจจุบันแล้วเนื่องจาก Google Algorithm ใหม่ ลดความสำคัญของส่วนนี้ลง ในอดีตอาจจะมีความสำคัญในการ SEO แต่ปัจจุบันนั้น Meta Keyword นั้นไม่ค่อยมีผลมาก โดยในอดีตนักการตลาดที่ต้องการยอดการเข้าชมเว็บไซต์เยอะๆ จะใส่ Keyword อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ลงไป เพื่อให้ได้รับการเข้าชมจากคำค้นหาที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น เช่น ในเว็บไซต์ขายของออนไลน์ แต่ใส่ Meta Keyword คำว่า Taylor Swift ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกัน เพื่อเรียกยอดการเข้าชมจาก Keyword คำว่า Taylor Swift ที่มีคนให้ความสนใจทั่วโลก ซึ่งการทำแบบนี้จะเรียกว่า “Keyword Stuffing” ดังนั้น Google จึงตัดสินใจลดความสำคัญของ Meta Keyword ลง เนื่องจากการเอามาใช้งานในทางที่ไม่ถูกต้อง การทำ SEO แบบนี้เรียกว่าสายดำ โดยเราจะเน้นการทำ SEO สายขาวเป็นหลักเพื่อให้ส่งผลดีต่ออันดับในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม มีไว้ก็ดีกว่าไม่มี โดยแพลตฟอร์มเว็บไซต์หลายเจ้าก็ยังมีส่วนนี้ให้ใส่อยู่ จึงควรใส่ให้ครบถ้วนตามนี้

<meta name="keyword" content="keyword 1, keyword 2">

สามารถใส่ได้มากกว่าหนึ่งคำโดยใช้คอมม่า (,) ขั้นระหว่าง Keyword

4. Meta Robots

Meta Robots ทำหน้าที่ในการบอก Search Engines และ Web Crawlers ว่าหน้าไหนในเว็บไซต์ต้องการให้เก็บข้อมูล (Index) หน้าไหนไม่ต้องการให้เก็บข้อมูล รวมถึงลิงค์ไหนที่ต้องตามไปเก็บข้อมูล ลิงค์ไหนไม่ต้องเก็บข้อมูล เพื่อให้ Bot ที่มาเก็บข้อมูลประมวลของเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่ง Meta Robots มีความสำคัญอย่างมาก หากเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ถูกจัดเก็บข้อมูล เว็บไซต์ก็จะไม่ขึ้นไปทำอันดับในหน้าแสดงผลการค้าหา โดยตัวอย่างโค้ด Meta Robot เช่น

<meta name="robot" content="noindex,nofollow">

โดย Noindex และ Nofollow ในโค้ดคือ พารามิเตอร์ของ Meta Robots โดยในแต่ละพารามิเตอร์มีจะความหมายต่างกัน ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อเปิดให้ Google Bots วิ่งเข้ามาเก็บข้อมูลได้

พารามิเตอร์ใน Meta Robots ประกอบไปด้วย

  • Index คือการบอกให้ Web Crawlers มาทำการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เพื่อนำไปจัดแสดงในหน้าแสดงผลการค้นหา โดยหากไม่ได้ปรับแต่งอะไร Index จะเป็นค่าเริ่มต้นของเว็บไซต์
  • Noindex จะเป็นการบอก Web Crawlers ไม่ให้มาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ ดังนั้นเว็บไซต์จะไม่แสดงผลใหหน้าแสดงผลการค้นหา
  • Follow คือการให้ Search Engine สามารถติดตามลิงค์ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ และนำผู้ใช้งานไปยังหน้าอื่นๆ หรือเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งลิงค์นั้นจะกลายเป็น Backlink ของเว็บอื่น และจะช่วยให้เว็บอื่นได้รับคะแนน SEO ดีขึ้น โดย Follow จะเป็นค่าเริ่มต้นเช่นเดียวกันหากไม่ได้ปรับแต่งอะไร
  • Nofollow คือการบอกให้ Search Engine ไม่ติดตามลิงค์ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ลิงค์นั้นไม่รับ Backlink จากเว็บไซต์ของเรา
  • Noarchive จะเป็นบอก Search Engine ว่าไม่ต้องแสดงหน้านั้นๆ

ดั้งนั้นถ้าต้องการให้ Google Bots เข้ามาเก็บข้อมูล ก็ต้องใช้เป็น index

การใช้ Meta Robots ในการทำ SEO

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจมองว่า Noindex นั้นไม่จำเป็น ซึ่งไม่จริง! เพราะในหน้าที่มีเนื้อหาซ้ำกัน และไม่อยากให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล หรือหน้าที่มีเนื้อหาน้อย สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้อ่าน แต่ไม่ได้อยากให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล ก็สามารถใส่ Noindex ในหน้านั้นได้

หรือหากหน้านั้นมีลิงก์ออกจากเว็บไซต์จำนวนมาก เช่นหน้า Directory และไม่ต้องการให้ Google เข้ามา Index ในหน้านั้น ก็สามารถใส่ Noindex ได้เช่นกัน

5. Canonical

สำหรับ Canonical Tag อาจต้องอธิบายเต็มๆ ในบทความถัดไป แต่คร่าวๆ วิธีการใช้คือ หากหน้า B มีเนื้อหาซ้ำกับหน้า A ซึ่ง Google จะไม่ชอบเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำๆ กัน ให้เราใส่ Canonical Tag ที่หน้า B เช่น

<link rel="canonical" href="https://www.example.com/page-a">

โดยตรง href=”…” ให้ใส่ลิงก์ไปหน้า A แค่นี้ Google ก็จะเข้าใจแล้วว่าให้เก็บข้อมูลจากหน้า A เป็นหลัก เพราะหน้า B นั้นเนื้อหาซ้ำ และไม่ใช้หน้าที่ควรโฟกัส

จะเห็นได้ว่า Meta Tag มีส่วนช่วยอย่างมากในทำ SEO โดย Meta Tag เองก็มีหลายประเภท รูปแบบการใช้งานแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราจึงควรตรวจสอบ Meta Tag บนเว็บไซต์เราอย่างดี เพื่อให้ใช้งาน Meta tag ออกมาได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ แล้วการทำ SEO จะดีขึ้นอย่างแน่นอน

และถ้าใครอยากปรึกษา Pacy Media เกี่ยวกับบริการด้าน SEO ก็สามารถติดต่อเราได้เลย เราเป็นบริษัทให้บริการ SEO ครบวงจร พร้อมบริการกับ Google Ads, Social Media Marketing ไปจนถึงการพัฒนาเว็บไซต์

แชร์ความรู้นี้บน Social Media

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

บันทึก