อัปเดต Google Algorithm ล่าสุด (2023) กับ 7 สิ่งที่ส่งผลต่อ SEO Ranking

อัปเดต Google Algorithm ล่าสุด (2023) กับ 7 สิ่งที่ส่งผลต่อ SEO Ranking

อย่างที่เราทราบกันดีจากการรับทำ SEO มากว่า 8 ปี ว่าปัจจัยในการทำ SEO หรือการที่เว็บไซต์จะติดอันดับ Ranking ดีๆ บน Google นั้นมีหลายปัจจัยมากจริงๆ ทั้ง On-page และ Off-page แต่! ปัจจัยที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้ คือเรื่อง Core Web Vital ที่เกี่ยวข้องกับ Page Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ที่จะเข้ามามีผลต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะจะเป็น Signal หลักที่ Google นำมาใช้ใน อัปเดต Google Algorithm ล่าสุด โดยตอนนี้แนวโน้มของ Google Algorithm ใหม่ๆ จะไปในด้าน “คุณภาพของเนื้อหา” เป็นหลัก ลองมาดูกันเลยว่าอัปเดต Algorithm ล่าสุดจาก Google มีอะไรบ้าง

ใครที่สนใจเรื่อง Google Algorithm แต่ยังใหม่กับเรื่อง SEO สามารถไปทำความรู้จักกับ SEO ได้ในบทความ SEO คืออะไร เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ SEO

มารู้จักกันก่อนว่า Google Algorithm คืออะไร

Google Algorithm คือ หลักในการประเมินว่าเว็บไซต์ไหน หรือข้อมูลไหนควรจะนำมาแสดงเวลามาคนค้นหา รวมถึงเรื่องอันดับในการแสดงด้วยเช่นกัน ซึ่ง Google จะเลือกเว็บไซต์ หรือข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังค้นหามากที่สุด

โดยอัลกอริทึมของ Google จะมีการปรับ และอัพเดทอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การแสดงผลบนหน้าค้นหา ออกมามีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด เลยทำให้ในปัจจุบันเราอยากรู้อะไรก็เข้าไปถาม Google นั่นเป็นเพราะเราารู้ว่า Google น่าจะให้คำตอบกับเราได้

นี่คือเหตุผลที่เวลาเราค้นหาอะไรสักอย่าง ทำไมเว็บ A อยู่หน้าแรก ตำแหน่งบนสุด ทำไมเว็บ C อยู่หน้าแรก แต่ได้เป็นตำแหน่ง 3 ทำไมเว็บไซต์ M ไปอยู่ถึงหน้าที่ 2 เลย เพราะในสายตาของ Google เว็บไซต์ A มีคุณภาพ และน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ค้นหามากที่สุด ตามด้วยเว็บไซต์ C และ M

อัปเดต Google Algorithm 2023

ในช่วงเดือน สิงหาคม 2023 Google มีปล่อย Core Update ในเดือน มีนาคม สิงหาคม และ ตุลาคม ซึ่งจะเป็นอัปเดตหลักที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและคอนเทนต์บนบเว็บไซต์

โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีอัปเดต Product Review เพื่่อเพิมคุณภาพของการรีวิวสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ เว็บที่ส่งผลโดยตรงส่วนใหญ่จะเป็น E-commerce

อัปเดต Google Algorithm 2022

อัปเดตหลักของปี 2022 คือ Product Review Update, Link Spam Update และ Helpful Content Update ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้ที่เข้ามาค้นหามากที่สุด

อัปเดต Google Algorithm May 2021 (Core Web Vital)

ที่ Google ต้องใส่ใจใน Algorithm ขนาดนี้เพราะ หากเราค้นหาบน Google แล้วเจอแต่เว็บไซต์ที่ไม่เป็นประโยชน์ เราเองก็คงเบื่อที่จะใช้ Google เพราะเจอแต่เว็บไซต์อะไรก็ไม่รู้ และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจของ Google ดังนั้น Google เลยต้องออก Algorithm ใหม่ๆ มาตลอด เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเราจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 

ซึ่ง Google Algorithm มีเยอะเป็น 100+ และมีรายละเอียดมากจริงๆ แต่ อัปเดต Algorithm ล่าสุด ในเดือน พฤษภาคม ของปี 2021 เกี่ยวข้องกับ Page Experience Signal ตรงๆ ซึ่งจะเป็นการปรับอัลกอริทึมครั้งสำคัญ โดยประกอบไปด้วย 7 ส่วนที่อาจกระทบกับ SEO Ranking ไม่ว่าคุณจะทำ SEO เอง หรือจ้างบริษัทรับทำ SEO ก็ตาม

Google Algorithm อัพเดท ล่าสุด 7 ข้อ Search Page Experience
Google Algorithm อัปเดต เกี่ยวกับ Page Experience

Page Experience คืออะไร

Page Experience แปลตรงตัวเลยคือประสบการณ์การใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ ลองนึกภาพง่ายๆ ว่า หากวันนี้เราเข้าเว็บไซต์หนึ่ง ที่พอเปิดมาแล้วมี Pop-up เด้งขึ้นมาเยอะแยะไปหมด หรือพอจะคลิกไปหน้าต่อไป ใช้เวลาโหลดนานมาก แน่นอนว่าเราก็จะได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการใช้งานเว็บไซต์นี้ทันที ทำให้เราไม่อยากจะเข้าไปใช้อีก ถึงเข้าไปก็ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่ดี

หากใครอยู่ในวงการออนไลน์ อาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ UX และ UI มาบ้างแล้ว

  • UX (User Experience) คือประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์โดยรวม ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งจะดูว่า คนชอบใช้งานเว็บไซต์ หรือไม่ ชอบมากน้อยแค่ไหน อาจจะวัดจากเวลาที่อยู่บนเว็บ Action ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ การเปิดไปดูข้อมูลหน้าอื่นๆ บนเว็บไซต์ เป็นต้น
  • UI (User Interface) คือ การแสดงผลของหน้าจอที่ให้ผู้ใช้ใช้งาน โดยจะเกี่ยวข้องกับดีไซน์ และการจัดวางบนเว็บไซต์เป็นหลัก นึกง่ายๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน ภาพ การจัดวางเนื้อหา เป็นต้น ซึ่งหาก UI ดี จะส่งผลต่อ UX ให้ดีตามไปด้วย

โดยหากใครต้องการเช็คเว็บไซต์ของตัวเองดู ให้ลองเข้าไปที่ PageSpeed Insight

7 ส่วนของ Page Experience สำคัญใน Google Algorithm อัปเดต 2021

Page Experience ที่เราคุ้นเคยอาจจะเป็นเรื่อง UX และ UI แต่สำหรับ Page Experience ในอัลกอริทึม Google 7 ส่วนมีอะไรบ้างมาดูกัน

1. Loading – ความเร็วในการโหลด (Core Web Vital)

โดย Google จะวัด Largest Contentful Paint (LCP) หรือ คือความเร็วในการโหลด ภาพ หรือ Block ตัวอักษร ที่มีขนาดใหญ่สุด บนหน้าจอแรกที่เปิดขึ้นมา (ส่วนบนของเว็บไซต์) ซึ่ง LCP จะไม่ได้ดูระยะเวลาการโหลดของเนื้อหาทั้งหน้า เช่น หากเนื้อหาส่วนแรกสุดบนเว็บไซต์ของคุณ มี Block รูปภาพที่มีขนาดใหญ่สุด LCP ก็จะไปวัดที่รูปภาพนั้น ซึ่งยิ่งทำให้ภาพนี้โหลดเร็วขึ้นเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อ LCP เท่านั้น

2. Interactive – การตอบสนอง (Core Web Vital)

ระบบจะวัด First Input Delay (FID) ซึ่งคือระยะเวลาที่ Browser ใช้ในการตอบสนอง Interaction แรกจากผู้ใช้ เช่น การคลิกปุ่ม เป็นต้น ซึ่งยิ่งเร็วยิ่งดี หากช้าหมายความว่า Browser อาจยังทำการโหลดเนื้อหาอื่นๆ อยู่ เวลาผู้ใช้คลิกปุ่มแล้วต้องรออีกสักพักกว่าเว็บไซต์จะเริ่มทำงาน ยิ่งหากมี JavaScript เยอะ ก็อาจส่งผลให้ Browser ทำงานหนักขึ้น

3. Visual Stability – ความนิ่งของเนื้อหา (Core Web Vital)

ในภาษาเทคนิคจะเรียกว่า Cumulative Layout Shift (CLS) โดนเราไม่รู้จะใช้คำภาษาไทยเรียกว่าอะไรเลย มาลองดูเป็นตัวอย่างน่าจะง่ายกว่า เคยไหม เวลาเข้าไปใช้งานเว็บไซต์หนึ่ง ตอนจังหวะที่เรากำลังจะคลิกปุ่มใดปุ่มหนึ่ง ในเสี้ยววินาทีนั้น เนื้อหาบนเว็บไซต์เกิดการขยับขึ้นมา ทำให้ตำแหน่งที่เรากำลังจะคลิกปุ่มนั้น กลายเป็นไปคลิกโดนอีกปุ่มนึงแทน ซึ่งเป็นปุ่มที่เราไม่ได้อยากจะคลิก

การขยับของเนื้อหาอาจจะเกิดมาจาก การที่เนื้อหาของเว็บไซต์บางส่วนยังโหลดไม่เสร็จ ซึ่งพอโหลดเสร็จทีหลัง เลยส่งผลให้เนื้อหาด้านล่างของส่วนนั้นๆ ถูกขยับตามกันลงไป เป็นต้น

ซึ่งการขยับของเนื้อหา ​Google มองว่าจะส่งผลลบต่อ User Experience ดังนั้นทดลองเช็คเว็บบน Desktop และ Mobile ดูว่าเนื้อหาส่วนไหนที่โหลดขึ้นช้า และส่งผลให้เกิด Layout Shift

4. Mobile Friendly – ใช้งานง่ายบนมือถือ

เว็บไซต์ต้องเป็น Mobile Responsive หมายความว่า Layout ของเว็บไซต์จะต้องปรับการแสดงผลให้เข้ากับอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Desktop Tablet หรือ Mobile

หลายเว็บไซต์ที่สร้างมาหลายปีก่อนหน้านี้ ยังไม่ได้เป็น Responsive Design สังเกตง่ายๆ คือ การแสดงผลบนมือถือ จะเหมือนกับบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ Desktop แต่จะถูกบีบให้แสดงในขนาดที่เล็กลงตามขนาดของมือถือ ซึ่งถ้าจะอ่านก็ต้องซูมขยายเนื้อหา ซึ่งในปีหน้า ทุกเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีการทำ SEO อยู่แล้ว หรือวางแผนว่าจำทำ SEO ต้องรีบปรับด่วน

5. Safe Browsing – ความปลอดภัยในการใช้งาน

เว็บไซต์ต้องไม่มี Maware หรือ Spam ที่ถูกฝังอยู่ในเว็บไซต์ เพราะหากมี เวลาผู้ใช้เข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัว Malware จะส่งผลให้เกิดการ Redirect เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เช่นอาจจะเป็นไวรัส เว็บไซต์พนัน หรือเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้

6. HTTPS

ลิงก์เว็บไซต์แบบเต็มๆ ที่เราน่าจะคุ้นเคยกัน คือ https://www.pacymedia.com สังเกตุด้านหน้าจะมี https อยู่

แต่หากเว็บไซต์ไหนที่ยังไม่มี s ข้างหลัง http ให้ดำเนินการติดต่อผู้ที่ดูแลเว็บไซต์ เปิดใช้งาน SSL Certificate (SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer ) ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อผู้ใช้งาน

7. Intrusive Interstitial – โฆษณาที่บังเนื้อหาหลัก

เข้าใจง่ายๆ คือ พวก Popup Ads ทั้งหลาย ที่เด้งขึ้นมาเต็มๆ หน้าจอจนไม่เห็นเนื้อหาหลักเมื่อผู้ใช้เข้ามายังเว็บไซต์ เพราะ Google จะมองว่าเป็นการบังเบื้อหาที่ผู้ใช้คลิกเข้ามาเพื่ออ่าน แต่ Popup Banner ที่เกี่ยวกับ การให้ผู้ใช้ยืนยันอายุก่อนเข้าเว็บไซต์ หรือยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวก่อนเข้าใช้ ยังสามารถมีได้อยู่ ไม่ได้ถูกตรวจใน Google Algorithm นี้

อัลกอริธึม Google Pop up
Algorithm ใหม่ ห้ามมี Popup ที่บังเนื้อหาหลัก

ซึ่งหากดูจาก 7 ข้อที่ Google จะนำมาใช้เป็น Page Experience Signal หากใครทำ SEO สายขาว และเน้นการสร้างคุณค่าให้เว็บไซต์ ทั้งด้านเนื้อหา และโครงสร้างของโค้ดมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีอะไรที่หลุดกรอบ 7 ข้อนี้ ก็อาจจะอุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ การอัพเดตอัลกอริทึมนี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ ลงโฆษณา Google AdWords

อยากทำ SEO แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

ขอคำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Search Marketing / Google Ads / SEO ติดต่อเรา ได้ที่ LINE: @pacymedia หรือ [email protected] 

แชร์ความรู้นี้บน Social Media

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

บันทึก