การทำงานของระบบ Google Search แชร์ข้อมูลวงในจากพนักงาน Google!

การทำงานของระบบ Google Search แชร์ข้อมูลวงในจากพนักงาน Google!

หลายคนคงได้ยินข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับ การทำงานของ Google Search มาบ้าง เช่น แอบดู History ของเราหรือเปล่า แอบฟังเสียงหรือเปล่า หรือใช้เกณฑ์อะไรมาเลือกในการแสดงผลการค้นหา

Danny Sullivan ดำรงตำแหน่ง Google’s Public Liaison of Search แปลง่ายๆ คือผู้ที่มีหน้าที่สื่อสารระหว่าง Google Search กับประชาชน โดยได้เปิดให้ผู้ใช้สามารถถามคำถามอะไรก็ได้เกี่ยวกับ Google ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา และ Danny จะทำหน้าที่ตอบคำถามทั้งหมด ซึ่งทาง Pacy Media ได้สรุปเรื่องราวที่น่าสนใจทั้งหมดมาไว้ในบทความนี้แล้ว โดยเนื้อหาบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะเตรียมปรับเว็บไซต์รับ Google Algorithm 2021 ที่กำลังจะนำมาใช้ในเร็วๆ นี้ด้วย ใครอยากเข้าไปดูคลอปเต็มๆ ตามไปที่ youtube.com ได้เลย

8 เรื่องที่น่าสนใจมีอะไรมาดูไปพร้อมๆ กัน

1. Search History หรือประวัติการค้นหาจะถูก Google แอบดูหรือเปล่า

ทาง Google ไม่ว่าจะทีมไหนก็ไม่สามารถเข้าไปเปิดดู History การค้นหาได้ แม้แต่ตัว Danny เองก็ไม่เคยได้เห็นข้อมูลนี้เลย

ซึ่งหลายคนอาจจะส่งสัยว่า ถ้าไม่ได้ดูแล้ว Google จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังสนใจอะไรอยู่? คาดว่าเป็นการวิเคราะห์จากพฤติกรรมของเรามากกว่า เช่น เราไปเข้าชมเว็บไซต์อะไรบ้าง (ดูจากเนื้อหาของเว็บไซต์) หรือเคยค้นหาด้วย Keyword อะไรบ้าง แล้วก็จะจัดเก็บมาเป็นสถิติ โดยไม่ได้ทำการระบุตัวตนผู้ใช้ ซึ่งทีมงานของ Google ก็ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้

ดังนั้นจะค้นหาอะไรก็ได้ จะเข้าเว็บไซต์อะไรก็ได้ ไม่มีใครสามารถแอบดูได้ว่าประวัติการใช้งานของเราเป็นอย่างไร Google รับรองมาแล้วว่า Search History ของเราปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัวแน่นอน 

2. อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ Google ใช้คัดเลือกเว็บไซต์มาแสดง

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึง 7 ปัจจัยในการทำ SEO ซึ่งในความเป็นจริง ปัจจัยที่ Google นำมาใช้มีหลายร้อยปัจจัย

Danny บอกว่า Google ให้ความสำคัญกับ Data และการจัดเก็บ Data มาวิเคราะห์มากๆ โดยจะเก็บตั้งแต่วินาทีที่มีคนเข้าไปชมเว็บไซต์ ดูว่ามีประโยชน์หรือเปล่า ตรงกับสิ่งที่ Users กำลังค้นหาหรือเปล่า เว็บไซต์มีความเป็น User Friendly ไหม โหลดเร็วไหม ผู้ใช้เข้าชมนานหรือเปล่า หรือเข้าปุ๊บก็ปิดเลย รวมไปถึงโครงสร้างเว็บไซต์ และลิงก์ต่างๆ ทั้ง Internal และ การทำ Backlink ด้วยเช่นกัน

จากนั้นตัวเลขทั้งหมดจะถูกพิจารณาโดย Ranking Signals เพื่อมาเป็นตัวตัดสินว่าเว็บไซต์ไหนควรจะนำขึ้นแสดงก่อน ดังนั้นการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของเราติดหน้าค้นหา สิ่งที่สะคัญที่สุดก็คือเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และเว็บไซต์ต้อง User Friendly ในทุกๆ ด้าน

3. หลังจากเราค้นหาแล้ว Google จะทำอย่างไรต่อกับข้อมูล

หลังจากที่เราค้นหาทุกครั้ง Google ก็จะเก็บข้อมูลเอาไว้ในระบบ เพื่อให้พอเดาได้ว่าเราสนใจอะไร ยกตัวอย่างเช่น หากเราเดินเข้าไปในห้องสมุด แล้วตะโกนดังๆ ว่า “กระเป๋าาาาา” ทุกคนในนั้นก็คงตกใจ และงงว่าเราเป็นอะไร แต่หากเราได้บอกเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเอาไว้ก่อนว่า ขอฝากกระเป๋านะ เขาก็จะจำได้ว่าคนนี้เคยฝากกระเป๋าไว้ที่ห้องสมุด และก็จะนำกระเป๋ามาให้

ดังนั้นเมื่อ Google รู้ว่าเราเคยสนใจอะไร ก็จะทำให้การนำข้อมูลมานำเสนอผู้ใช้นั้นๆ แม่นยำ และตรงกับส่ิงที่เราสนใจมากยิ่งขึ้น

4. Google แอบฟังเสียงเราหรือเปล่า

หลายคนสงสัยว่าทำไหมบางทีเราพูดอะไรไป หลังจากนั้นก็จะเห็นโฆษณาเลย ทำให้สงสัยกันว่า Google แอบฟังเสียงของผู้ใช้หรือเปล่า

โดย Danny บอกว่า Google ไม่ได้ฟังเสียงผู้ใช้เลยแม้แต่น้อย แต่ว่าอาจจะมาจากพฤติกรรมการค้นหาก่อนหน้านี้ หรืออาจจะมาจากการที่เราใช้คำสั่งค้นหาด้วยเสียง ซึ่งข้อมูลเสียงที่ Google จะฟังได้ ก็คือข้อมูลที่ใช้ Voice Command กับ Google เท่านั้น ซึ่งเราจะต้อง Activate ก่อนทุกครั้ง ไม่ว่าเป็นการกดปุ่ม หรือเป็นการพูดว่า “OK Google” เพื่อ Activate การสั่งการด้วยเสียง

5. จากสถานการณ์ COVID-19 พฤติกรรมการค้นหาเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

Danny บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงในด้านของหัวข้อที่คนใช้ค้นหา โดยจะไปโฟกัสในส่วนของ “…. at home” มากขึ้น เช่น gym at home เป็นต้น และอีกอย่างที่เห็นคือการค้นหาเรื่องเดิมๆ เพิ่มเยอะขึ้น ในระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งปกติจะไม่ค่อยเจอพฤติกรรมการค้นหาแบบนี้

6. ทำไมคน 2 คน เห็นผลการค้นหาบน Google ไม่เหมือนกัน

หลายคนอาจเข้าใจว่านี่คือการ Personalized ผลค้นหา แต่ Danny บอกว่ามันคือการ Localized มากกว่า

เช่น หากนาย A อยู่เชียงราย ค้นหาว่า “ร้านกาแฟ” เทียบกับนาย B อยู่หาดใหญ่ ค้นหาว่า “ร้านกาแฟ” เหมือนกัน แต่ผลการค้นหาจะไม่เหมือนกัน

7. Google สามารถแสดงผลการค้นหา “อคติ” หรือ “Bias” ไปในด้านใดด้านหนึ่งได้ไหม

ยกตัวอย่างเช่น หากเราค้นหาเกี่ยวกับ “การฆ่าล้างเผ่าพันธ์สมัยนาซีเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า” Google จะแสดงผลการค้นหาว่า จริง หรือไม่จริง..?

Danny บอกว่า Google จะไม่แสดงผลที่เป็นคำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เช่น หากคนค้นหาว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธ์สมัยนาซีเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า” Google จะพยามนำเนื้อหาภาพรวมๆ มาแสดง เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าไปอ่าน แล้วตัดสินใจเอง เช่น อาจจะแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับ ทำไมถึงเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น มากกว่าการจะเนื้อหาที่ตอบจัดเจนว่า Yes/No มาแสดง เพราะ Google ไม่ได้มีหน้าที่มาบอกว่าอะไรถูกหรือผิด แต่มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และให้ผู้ใช้ได้เข้าไปศึกษาหาคำตอบด้วยตัวเอง

ดังนั้นใครจะทำ SEO ในคำค้นหาลักษณะนี้ ก็ต้องเลี่ยงการเขียนเนื้อหา หรือหัวข้อที่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง 

8. Google รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังจะค้นหาอะไร

เคยไหม บางทีกำลังพิมพ์ในช่องค้นหาไม่ทันเสร็จ Google ก็แนะนำประโยคต่อท้ายมาให้เรียบร้อยแล้ว

Danny บอกว่า ระบบนี้เรียกว่า Predictive Search หรือการคาดการณ์การค้นหานั่นเอง โดยจะนำข้อมูลจากผู้ใช้หลายๆ คนมาวิเคราะห์ เก็บสถิติ และนำมาใส่ต่อท้ายให้โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ต่อ

การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ของ Danny Sullivan ค่อนข้างเคลียในหลายๆ เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราเองก็สงสัยกันอยู่บ่อยๆ อย่างไรก็ตาม ระบบของ Google เองก็ฉลาดขึ้นทุกวัน และในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ก็เป็นการตอบแบบภาพรวมเท่านั้นซึ่งคงจะมีรายละเอียดอีกเยอะแยะที่ลึกกว่านี้ ดังนั้นเราก็ต้องติดตามกันต่อว่าในปี 2021 นี้ Google จะมีปรับ อัพเดท หรือเพิ่มอะไรมาอีกบ้าง ที่แน่ๆ ก็มี Google Algorithm 2021 ล่าสุด ที่จะอัพเดทกันเดือนพฤษภาคมนี้ ที่จะส่งผลต่อการทำ SEO อย่าลืมรีบปรับกันด้วย! 

ต้องการผู้ช่วยปรับเนื้อหาเว็บไซต์สำหรับ SEO หรือเปล่า

ขอคำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Search Marketing / Google Ads / SEO ติดต่อเรา ได้ที่ LINE: @pacymedia หรือ [email protected] 

แชร์ความรู้นี้บน Social Media

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

บันทึก