โฆษณา Google Ads หรือ AdWords คืออะไร (อัปเดต)

โฆษณา Google Ads หรือ AdWords คืออะไร (อัปเดต)

ใครยังไม่รู้ว่า โฆษณา Google AdWords คืออะไร มาลองทำความรู้จักไปพร้อมกันในบทความนี้เลย ล่าสุด Google ได้อัปเดต Google Ads เวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้ว รวมถึงไปเปลี่ยนชื่อจาก Google AdWords เป็น Google Ads โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาหลักๆ จะเป็นระบบอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็น Automatic Machine Learning รวมถึง AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโฆษณา ซึ่งทาง Pacy Media เองก็ได้นำเข้ามาใช้ในการบริการบัญชีโฆษณาให้ลูกค้า ซึ่งผลตอบรับถือว่าเป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว

การลงโฆษณา Google Ads หรือ Google AdWords คือการโฆษณาแบบ PPC (Pay Per Click) หรือ การที่ระบบจะคิดค่าใช้จ่ายต่อเมื่อมีการคลิกเกิดขึ้นบนโฆษณาเท่านั้น หมายความว่า ถ้าโฆษณาของคุณแสดง แต่ไม่มีคนคลิก ระบบก็จะไม่คิดค่าใช้จ่ายของการแสดงครั้งนั้น

โฆษณา Google ประกอบไปด้วยช่องทางในการลงโฆษณา 3 ช่องทาง

  1. Google Ads (Search) หรือลงโฆษณาบนหน้าค้นหา Google รู้จักในชื่อ SEM
  2. Google Ads (Display Network) หรือลงโฆษณาแบบเนอร์บนเว็บไซต์ชั้นนำ เช่น Matichon Nation Kapook Thairath YouTube เป็นต้น บางคนอาจเรียกว่าโฆษณา GDN, Display Ads หรือ Banner Ads
  3. YouTube Ads หรือลงโฆษณาบน YouTube ในรูปแบบของวีดีโอที่หลายๆ คนคุ้นเคย บนช่องต่างๆ เช่น WorkPoint One31 GMM หรือ รายการจากศิลปินที่เป็นที่รู้จัก เช่น The Driver หรือ เจ้าป่าเข้าเมือง เป็นต้น

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความรู้จัก ทำความเข้าใจถึงประโยชน์ และวัตถุประสงค์ในการลงโฆษณาแต่ละช่องทางผ่านระบบ Google Ads (AdWords) เรามาโฟกัสกันทีละช่องทางเลยดีกว่า

ช่องทางแรกที่เป็นที่นิยมที่สุดคือโฆษณาในรูปแบบการค้นหาบนหน้า Google หรือ SEM หลายคนที่ยังสับสนระหว่างการติดหน้าแรก Google แบบโฆษณาผ่านระบบ Google Ads กับ SEO แนะนำให้ลองดูภาพด้านล่าง หรือลองอ่านบทความ >​​ SEO และ SEM ต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างโฆษณา Google Ads คืออะไร
สีฟ้า = Google Ads, สีเขียว = SEO, สีส้ม = Google My Business

โฆษณา Google Ads (Search) หรือ SEM คืออะไร

คือการนำเว็บไซต์ หรือ Facebook Page ไปลงโฆษณาบนหน้าค้นหา Google ผ่านระบบ Google Ads โดยเราสามารถเลือกให้แสดงได้ตาม Keyword ที่ต้องการ เช่น หากคุณทำธุรกิจ เช่ารถ ที่จังหวัด เชียงใหม่ คุณสามารถเลือกให้เว็บไซต์แสดงบน Google เวลาที่มีคนพิมพ์คำค้นหาว่า “รถเช่าเชียงใหม่” หรือ “เช่ารถเชียงใหม่” โดยคุณสามารถเลือก ประเภท Keyword ได้หลากหลายเพื่อให้รองรับการค้นหาที่กว้างขวาง และเพื่อเจาะจงสินค้าแบบตรงๆ ไปเลย

โดยผลการค้นหาในรูปแบบโฆษณาจะมีป้ายกำกับอยู่ข้างหน้าว่า “Ad” หรือ “โฆษณา” จะแสดงอยู่ 2 ส่วนบนหน้า Google คือ ด้านบน (ตำแหน่ง 1-4) และ ด้านล่างของผลการค้นหา ส่วนเว็บไซต์ที่แสดงโดยไม่มีคำว่า “Ad” หรือ “โฆษณา” คือการแสดงแบบ SEO (อ่านต่อในบทความ SEO คืออะไร)

ประโยชน์ของโฆษณา Google Ads แบบ Search หรือ SEM

โฆษณา Google Search คือโฆษณาแบบ “รองรับความต้องการ” หรือแบบ “ตั้งรับ” คือ ลูกค้ามีความต้องการแล้ว จึงมาค้นหาบน Google เพื่อหาข้อมูล หาราคา เปรียบเทียบ รวมถึงติดต่อสอบถาม ดังนั้นอัตราการปิดการขายจึงจะค่อนข้างสูง ซึ่งหากลูกค้าค้นหาแล้วโฆษณาของเราแสดง แต่ลูกค้าไม่คลิก เราก็ไม่ต้องเสียเงินให้ Google

ประโยชน์อีกอย่างของโฆษณา Google คือคุณสามารถทำการ Research ก่อนได้ว่า สินค้าของคุณมีคนค้นหามากหรือน้อยแต่ไหน (ค้นหามากหมายถึงทีความต้องการมาก คนหาน้อยหมายถึงมีความต้องการน้อย) เพื่อที่จะได้วางแผนงบโฆษณาที่เหมาะสม รวมถึงประเมินยอดขายคร่าวๆ ได้ ซึ่งในส่วนนี้ Pacy Media จะสามารถช่วยคุณได้ก่อนเริ่มแคมเปญโฆษณา

การทำงาน และตำแหน่งโฆษณาบน Google

ตามที่ทราบกันดีว่าหัวใจหลักของการแสดงบน Google คือ “ตำแหน่ง” ซึ่งแน่นอนว่าใครๆ ก็อยากให้เว็บไซต์ตัวเองแสดงตำแหน่งที่ 1 แต่จะขึ้นตำแหน่งที่ 1 ได้ มีปัจจัยอะไรบ้าง ไปลองดูกัน

  • Bidding หรือการประมูลค่าคลิก: โฆษณา Google เป็นระบบประมูลแบบ Real Time หมายความว่าหากคุณต้องการให้โฆษณาขึ้นตำแหน่งที่สูงกว่าคู่แข่ง คุณอาจจะต้องเสนอค่าคลิก (CPC หรือ Cost per Click) ให้ Google ในจำนวนที่สูงกว่าคู่แข่ง
  • Quality Score หรือ คะแนนคุณภาพ: นอกจากค่าคลิกที่ประมูลแล้ว Google ยังตรวจสอบคุณภาพของโฆษณาและหน้าเว็บไซต์ด้วย เช่น หากคุณเสนอ CPC ให้ Google ในราคาที่เท่ากันกับคู่แข่ง แต่ Quality Score ของคุณสูงกว่าคู่แข่ง โฆษณาของคุณก็มีสิทธิที่จะแสดงในตำแหน่งท่ีสูงกว่าคู่แข่ง

AI / Machine Learning อัปเดต

ช่วงหลังมานี้ Google ได้เพิ่มระบบ AI หรือ Machine Learning เข้ามากขึ้น จุดประสงค์เพื่อให้ระบบได้ทำการเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ กับการลงโฆษณาของธุรกิจ ส่งผลให้โฆษณาที่ขึ้นแสดงมีความน่าสนใจ และตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังมองหามากขึ้น

จริงๆ แล้วมีหลายส่วนที่เพิ่มเข้ามา แต่ส่วนที่พลาดไม่ได้และต้องลองใช้งานดูเลยคือ Responsive Search Ads ซึ่งเป็นการใส่คำโฆษณาทั้งในส่วน Headline และ Descrption Line ได้ทีเดียวเยอะๆ (ดูภาพประกอบด้านล่าง) แล้วระบบจะเป็นตัวเลือกให้มาแสดงเอง โดยจะ Match จากพฤติกรรมการค้นหาของผู้ใช้นั้นๆ ในระยะเวลาที่ผ่าน แล้วระบบจะดูว่า คำโฆษณาแบบไหนที่คนๆ น่าจะชอบ ระบบจึงเลือก Headline และ Description Line ที่เหมาะสมมาขึ้นแสดง

ตัวอย่างโฆษณา Google Responsive Search Ads
ตัวอย่างการใส่ข้อมูลาใน Responsive Search Ads จะใส่ Heading และ Description ได้หลายชุด

ธุรกิจไหนที่เหมาะกับ SEM

สินค้าและบริการที่เหมาะกับโฆษณา Google Search ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทที่ลูกค้ามักจะกำลังเจอปัญหา และมีความต้องการใช้บริการทันที หรือต้องการเปรียบเทียบ และหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นแถวเอกมัย (ปัญหาของลูกค้าคือหิว ต้องการกิน) เครื่องไล่หนู (ปัญหาของลูกค้าคือหนูเยอะ ต้องการกำจัดหนู) รถบรรทุกรับจ้าง (ปัญหาของลูกค้าคือการขนย้ายของจำนวนมาก ต้องการหารถบรรทุกรับจ้าง) เป็นต้น

2. Google Display Network (GDN)

Google Display Network หรือ GDN คือ โฆษณาแบนเนอร์ที่จะไปแสดงบนเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็น Partner กับ Google เช่น YouTube, Sanook, Thairath, SistaCafe, HardcoreCEO, และ DDProperty เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถนำแบนเนอร์ไปลงบนเว็บไซต์เหล่านี้ผ่านระบบของ Google Ads หรือ AdWords ได้เลย

อ่านบนความเจาะลึกเกี่ยวกับโฆษณา GDN ได้ที่ > โฆษณา GDN: รูปแบบ การทำงาน และขนาดแบนเนอร์

ตัวอย่างโฆษณา GDN บนเว็บไซต์ sanook.com

ประโยชน์ของโฆษณา GDN

โฆษณา GDN คือโฆษณา Display Ads ที่เหมาะกับการสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ หรือสินค้า จะเป็นการยิงโฆษณาแบบหว่านไปยังกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะสนใจในตัวสินค้า ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้เป็นล้านครั้ง ในงบโฆษณาที่ไม่แพงหากเทียบกับโฆษณา Billboard

การทำงานของโฆษณา Google AdWords (GDN)

เราสามารถกำหนดการแสดงผลโฆษณา GDN ได้หลากลาย ดังนี้

  • Demographics & Interests: เลือกตามความสนใจของผู้ใช้ เช่น แสดงแบนเนอร์ไปยังผู้ใช้ เพศหญิง อายุ 25-40 ปี มีความสนใจในสินค้าหรูหรา
  • Placement: เลือกเว็บไซต์ในการแสดงผล เช่น แสดงแบนเนอร์บนทุกหน้าของเว็บไซต์ YouTube SistaCafe และ Kapook
  • Keyword: เลือกแสดงผลตาม Keyword บนหน้านั้นๆ ของเว็บไซต์ เช่น แสดงบนทุกเว็บไซต์ที่มี Keyword “กระเป๋าแบรนด์เนม” ในเนื้อหา
  • Remarketing: เลือกแสดงผลเฉพาะผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์แล้วเท่านั้น เป็นตอกย้ำในตัวแบรนด์และสินค้าหลังจากที่ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์และปิดออกไป (อ่านต่อ Remarketing คืออะไร)

ธุรกิจไหนที่เหมาะกับโฆษณา GDN

จะบอกว่าเกือบทุกธุรกิจก็สามารถทำโฆษณา GDN ได้ โดยเฉพาะทำในรูปแบบของ Remarketing แต่ควรทราบไว้ว่าโฆษณา GDN นั้นจะเน้นไปที่การสร้างการรับรู้มากกว่า ดังนั้น KPI ที่จะนำมาวัดผลก็ควรให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้วยเช่นกัน เช่น วัดที่ CPM และ CTR เป็นต้น

3. YouTube Ads

โฆษณาบน YouTube หลายคนจะคุ้นเคยกับโฆษณาแบบ Skip ได้หลังจากที่วีดีโอทำงานไป 5 วินาทีซึ่งวีดีโอโฆษณาจะแสดงก่อนหรือระหว่างเนื้อหาของวีดีโอที่คุณกำลังรับชม แต่จริงๆ แล้วโฆษณาบน YouTube นั้นมีรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบ Bumper Ads และ Display Ads ก่อนอื่นไปดูก่อนก่อนว่าประโยชน์ของโฆษณา YouTube มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของโฆษณา YouTube

โฆษณา YouTube ในรูปแบบวิดีโอจะมีจุดเด่นในการสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวาง และกระตุ้นให้ลูกค้าจดจำสินค้าและแบรนด์ได้ดี โดยสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายด้วยโฆษณาแบบวีดีโอ ซึ่งลูกค้าจะสัมผัสได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยสามารถแสดงได้กว่าล้านครั้งในงบโฆษณาที่ไม่แพงเช่นกัน เทียบกับโฆษณาทีวี

ประเภทโฆษณา YouTube

  1. TrueView In-Stream Ads (Skippable): โฆษณาวีดีโอแบบที่ Skip ได้หลังจากรับชมไป 5 วินาที ที่จะเห็นอยู่บ่อยๆ ก่อนหรือระหว่างวีดีโอ ซึ่ง  Google จะคิดค่าใช้จ่ายต่อเมื่อมีการวิวเกิดขึ้นเท่านั้น หมายความว่าหากผู้ชมกด Skip ก็จะไม่นับเป็น 1 วิว ซึ่งการที่ Google จะนับวิวนั้น ผู้รับชมจะต้องเล่นวีดีโอจนถึง 30 วินาที หรือเล่นจนจบในกรณีที่ความยาววีดีโอต่ำกว่า 30 วินาที (แนะนำว่าวีดีโอท่ีลงโฆษณาควรมีความยาว 12 วินาทีขึ้นไป เพราะระบบจะไม่นับวิวหากความยาววีดีโอต่ำกว่า 10 วินาที)
  2. Bumper Ads: โฆษณาวีดีโอแบบที่ Skip ไม่ได้ จะบังคับให้แสดงจนวีดีโอจบ ซึ่งความยาววีดีโอจะต้องไม่เกิน 6 วินาที โฆษณาแบบนี้จะไม่เหมาะกับแคมเปญที่เน้นเพิ่มตัวเลขยอดวิว เพราะจำนวนวิวบนวีดีโอจะไม่ขึ้น เหมือนแบบ Skippable แต่จะเหมาะกับแคมเปญที่เน้นการเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมาก และการแสดงโฆษณาจำนวนมาก ด้วย Message ที่ชัดเจน ระบบจะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่โฆษณาแสดง หรือ CPM
  3. Display Ads:โฆษณาแบนเนอร์ที่แสดงข้างๆ วีดีโอ ในลักษณะเดียวกับ GDN

การทำงานของโฆษณา YouTube

การกำหนดการแสดงผลของโฆษณา YouTube นั้นจะคล้ายกับ GDN เพียงแต่ว่า จะกำหนดตามช่องและวีดีโอบน YouTube เท่านั้น

  • Demographics & Interests: เลือกตามความสนใจของผู้ใช้ เช่น แสดงโฆษณาวีดีโอไปยังผู้ใช้ เพศหญิง อายุ 25-40 ปี มีความสนใจในสินค้าหรูหรา บนทุกช่อง YouTube
  • Placement: เลือกช่อง YouTube ที่ต้องการแสดงผล เช่น แสดงโฆษณาวีดีโอ บนทุกวีดีโอของช่อง WorkPoint และ The Voice Thailand เป็นต้น
  • Keyword: เลือกแสดงผลตาม Keyword บนวีดีโอนนั้นๆ เช่น แสดงบนทุกวีดีโอที่มี Keyword “กระเป๋าแบรนด์เนม” ในเนื้อหา หรือหัวข้อ
  • Remarketing: เลือกแสดงโฆษณาวีดีโอเฉพาะผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์แล้วเท่านั้น

Function โฆษณาแบบใหม่ 2019 (Video Ad Sequencing)

Video Ad Sequencing คือการเรียงการแสดงโฆษณาวีดีโอแบบเป็นลำดับ เช่น หากนาย A เห็นโฆษณาที่ 1 แล้ว ให้แสดงโฆษณาวีดีโอตัวที่ 2 ต่อ จากนั้นให้แสดงโฆษณาวีดีโอตัวที่ 3 ต่อเลย ซึ่งการแสดงรูปแบบนี้ หลายคนอาจคุ้นเคยในการทำ Remarketing แต่ระบบ Ad Sequencing นี้จะทำให้ชีวิตเราง่ายยิ่งไปกว่าการทำ Remarketing เพราะมันจะแสดงวีดีโฆษณาตามลำดับที่เราเซ็ตเลย โดยไม่ต้องมานั่งทำ Remarketing List รายละเอียดไว้อธิบายเพิ่มเติมในบทความหน้าครับ

ธุรกิจไหนที่เหมาะกับโฆษณา YouTube

ถ้าจะบอกเป็นรายธุรกิจเลยก็คงจะไม่ถูกต้อง เพราะธุรกิจไหนก็สามารถทำโฆษณา YouTube ได้ ซึ่งจะเหมาะหรือไม่เหมาะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแคมเปญการตลาดนั้นๆ มากกว่า ว่าคุณต้องการทำแคมเปญในรูปแบบไหน ทำวีดีโอหรือเปล่า และข้อความหรือ Message ที่ต้องการสื่อสารออกไปคืออะไร คนดูแล้วจะได้อะไร เพราะจุดเด่นโฆษณา YouTube คือการสื่อสารที่ชัดเจนไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสารถึงจุดยินของแบรนด์ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ โปรโมชั่นใหม่ๆ สินค้า Collection ใหม่ เป็นต้น

NEXT STEP

เริ่มลงโฆษณา Google Ads (AdWords) ไม่ว่าจะเป็น Google Search, Google Display รวมถึง YouTube พร้อมผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแล และพัฒนาแคมเปญให้คุณ ติดต่อเรา เพื่อรับการประเมินแคมเปญก่อนเริ่มต้น หรือเรียนรู้ เกี่ยวกับเรา เพิ่มเติม

แชร์ความรู้นี้บน Social Media

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

บันทึก